วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ (Hip fracture in senile) หมายถึงการหักของกระดูกต้นขา (Femur) ที่อยู่บริเวณสะโพกและโคนขาหนีบ (รูป 1) เนื่องจากการหกล้ม สะโพกกระแทกในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกบางหรือ กระดูกพรุน
ใครมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหัก?
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของผู้สูงอายุ ที่จะทำให้มีกระดูกสะโพกหัก คือ การมีภาวะกระดูกบาง และกระดูกพรุน นอกจากนั้น ยังได้แก่
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากขึ้น จากทั้งการเกิดภาวะกระ ดูกพรุน และปัญหาในการทรงตัวที่ทำให้เกิดการล้มได้ง่าย
- เพศ พบกระดูกสะโพกหักในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนสูงกว่าในผู้ชาย
- มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน เพราะส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
- ภาวะทุโภชนา กินอาหารไม่มีประโยชน์ หรือขาดอาหาร กระดูกจึงอ่อนแอ หักได้ง่าย
- ไม่ได้ออกกำลังกาย จึงเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ใช้ต่อเนื่อง ที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน เช่น ยาสเตียรอยด์
- สูบบุหรี่ และ/หรือดื่มสุรา เพราะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง
อาการอย่างไรจึงสงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ?
ผู้ป่วยสูงอายุเมื่อหกล้ม แม้ไม่รุนแรง แล้วไม่สามารถลงน้ำหนักบนขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บ หรือขยับขาแล้วปวดสะโพกหรือโคนขาหนีบ ให้สงสัยไว้ได้เลยว่าอาจมีสะโพกหัก
เมื่อสงสัยผู้สูงอายุอาจมีกระดูกสะโพกหัก ควรดูแลเบื้องต้นอย่างไร?
เมื่อสงสัยว่า อาจมีกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ให้เริ่มต้นด้วยการค่อยๆจับบริเวณข้อเท้าแล้วค่อยๆโยกขาไปมาเบาๆ ถ้าเจ็บห้ามทำต่อ ให้ตามรถพยาบาลมารับที่บ้านได้เลย ถ้าต้องนำ ส่งโรงพยาบาลเอง ให้หาแผ่นกระดานสอดใต้แผ่นหลังและขา พันธนาการให้สะโพกและขาอยู่นิ่งๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยสามารถนั่งได้ก็อาจอุ้มขึ้นรถนำส่งโรงพยาบาลได้ การทำแบบนี้มีจุดมุ่งหมายไม่ให้ปวด และไม่ให้กระดูกที่หักเคลื่อนในระหว่างการเคลื่อนย้าย เพื่อนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อสงสัยผู้สูงอายุมีกระดูกสะโพกหัก ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การนำส่งแพทย์เร็วช้า แล้วแต่ความสามารถในการนำส่ง และความปวดทุกข์ทรมาน โดย ทั่วไปถ้าผู้ป่วยพอลุกนั่งได้ พอขยับขาไปมาได้ พอถ่ายอุจจาระปัสสาวะได้โดยไม่ปวดสะโพกมากนัก ก็สามารถพามาพบแพทย์ช้าหน่อยได้ แต่ควรภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ แต่โดย ทั่วไปถ้ากระดูกสะโพกหักและเคลื่อน จะปวดมากจนไม่สามารถขยับขาขยับตัวหรือลุกนั่งได้ ผู้ ป่วยจะไม่พยายามถ่ายอุจจาระปัสสาวะเพราะความปวด ก็ควรนำส่งโรงพยาบาลรีบด่วน/ฉุกเฉิน
แพทย์วินิจฉัยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุได้อย่างไร?
การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก ต้องอาศัยภาพรังสี (เอกซเรย์ภาพกระดูกสะโพก) เสมอ ถ้าไม่มีภาพรังสี แม้มั่นใจว่ามีกระดูกหัก แต่จะไม่รู้ว่ากระดูกหักเป็นชนิดไหน คดโก่งไปทางไหน อย่างไร จึงไม่รู้ว่าควรรักษาด้วยวิธีใด
แพทย์มีวิธีรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ อย่างไร?
เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์ศัลยกรรมกระดูก (แพทย์ออร์โธปิดิกส์) จะเป็นผู้ดูแลรักษาโดย ตรง ในการรักษา โดยอาจทำการถ่วงขาข้างที่หักไว้ เพื่อช่วยให้กระดูกไม่หักซ้อนกัน จะได้ติดได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง, ให้ยาระงับอาการปวด, เจาะเลือดถ่ายภาพรังสีสะโพกและปอด (ดูโรคของปอด เพื่อป้องกันปัญหาจากการใช้ยาสลบในการผ่าตัดรักษากระดูกหัก), ตรวจคลื่นหัว ใจดูว่าสามารถผ่าตัดได้หรือไม่, ทำการปรึกษาแพทย์อายุรกรรม เพื่อให้การดูแลรักษาโรคต่างๆที่ผู้สูงอายุมักจะเป็นอยู่แล้ว, เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด เพื่อทำการดามกระดูกที่หัก หรือเพื่อเอาหัวกระดูกสะโพกออก และใส่หัวกระดูกสะโพกเทียมแทน ซึ่งการพิจารณาว่าจะเลือกรักษาผ่าตัดด้วยวิธีไหน ย่อมอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ รักษาเองได้ไหม? ไม่พบแพทย์ได้ไหม?
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอาจสูงถึง 50% ภายในหนึ่งปีแรก ถ้าไม่ได้รับการรักษา ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ถ้าไม่สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตนเอง หรือโดยคนอื่นทำให้ ก็จะเกิดแผลกดทับปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลำไส้ไม่ทำงาน ท้องผูก จึงเป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จะต้องทำการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยนั่งได้ พลิกตัวได้ จะได้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนดังที่กล่าวมานี้ การรักษาก็จะเป็นการผ่าตัด เพื่อทำการดามกระดูกที่หัก (รูป 2) หรือเพื่อเอาหัวกระดูกสะโพกออก และใส่หัวกระดูกสะโพกเทียมแทน (รูป 3)
ดูแลผู้ป่วยสูงอายุอย่างไรเมื่อได้รับการผ่าตัดดามกระดูกสะโพก?
เนื่องจากกระดูกของผู้สูงอายุมีความบางและพรุน ซึ่งก็เป็นสาเหตุหลักของการที่กระดูกสะ โพกหัก เพราะฉะนั้นแม้เมื่อได้รับการดามด้วยโลหะแล้วก็ตาม ก็มีโอกาสที่จะดามแล้วไม่แน่น ทำให้กระดูกที่หักยังขยับได้ ทำให้ไม่หายปวด และอาจต้องทำการผ่าแก้ไขใหม่ ด้วยเหตุนี้ บ่อยครั้งกระดูกสะโพกหักจะถูกผ่าตัดด้วยการเปลี่ยนหัวกระดูกสะโพกเทียม และยึดให้แน่นด้วยกาวกระดูก (Bone cement) หลังผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดจะเป็นผู้แนะนำว่า ต้องดูแลผู้ป่วยอย่าง ไร ขอให้ญาติกรุณาถามคุณหมอให้ละเอียด และทำตามนั้นอย่างเคร่งครัด
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ กี่วันกระดูกจึงติด และดูแลผู้ป่วยอย่างไร? ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไหร่?
เรื่องที่ว่ากระดูกจะติดเมื่อไร ขอให้ถามแพทย์ผู้ให้การผ่าตัดรักษา เพราะจะต่างกันมากในผู้ ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับอายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
ในการดูแลผู้ป่วยก็เช่นเดียวกัน ควรสอบถามจากแพทย์ พยาบาล ผู้รักษาโดยตรง เพราะจะแตกต่างกันมากในผู้ป่วยแต่ละราย จากอายุและปัญหาสุภาพของผู้ป่วย ซึ่งคำถามที่สำคัญที่ลูก หลานควรถามแพทย์เพื่อให้เข้าใจ เพื่อการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
- จับพลิกตะแคงได้ไหม ควรทำบ่อยแค่ไหน
- จับขึ้นมานั่งได้ไหม ควรทำบ่อยแค่ไหน
- จับขึ้นมายืนได้ไหม ควรทำบ่อยแค่ไหน
- พยุงเดินได้ไหม ควรทำบ่อยแค่ไหน
- เดินเองด้วยเครื่องพยุงตัวสี่ขา (Walker) ได้หรือยัง ควรทำบ่อยแค่ไหน
- ลงน้ำหนักขาข้างที่หักได้ไหม เมื่อไร และ
- อื่นๆ ที่ผู้ป่วยและญาติกังวล
อนึ่ง ควรพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อ ผู้ป่วยมีอาการผิดไปจากเดิม, ปวดสะโพกด้านหักมากขึ้น, ปวดขาด้านหักมากขึ้น, ขาด้านหักบวม หรือมีลักษณะอักเสบ (เช่น บวมแดง ปวด มีหนองจากแผลผ่าตัด), มีไข้, มีปัญหาทางการขับถ่าย, มีแผลกดทับ, และ/หรือ เมื่อผู้ป่วย/ญาติกังวลในอาการ
กระดูกสะโพกหักมีการพยากรณ์โรคและผลข้างเคียงอย่างไร?
กระดูกสะโพกหัก สร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานและเป็นเหตุให้พิการได้ จัดเป็นกระดูก หักที่รุนแรง เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหว นั่ง ยืน เดิน นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนนา นาประการและอาจเสียชีวิตในที่สุดได้
ผลข้างเคียงที่พบได้เสมอจากกระดูกสะโพกหัก คือ การขาดคุณภาพชีวิต จากการเดินไม่ ได้ ช่วยตัวเองได้น้อย ต้องได้รับการช่วยเหลือดูแลจากผู้อื่น, มักเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะบริ เวณก้นและสะโพก, และมักมีการติดเชื้อจากการที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวได้น้อย โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (เช่น ปอดบวม) และในระบบทางเดินปัสสาวะ (โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ)
ป้องกันกระดูกสะโพกหักได้อย่างไร?
การป้องกันกระดูกสะโพกหักที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระดูกหัก (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง โรคกระดูกพรุน กระดูกบาง เพื่อการ เข้าใจ โรค การป้องกัน และการดูแลตนเองได้จากเว็บ haamor.com ในบทความเรื่อง โรคกระ ดูกพรุน โรคกระดูกบาง) และเมื่อเป็นผู้สูงอายุ การดูแล ป้องกันกระดูกสะโพกหักเพิ่มเติม คือ
- ทำบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ไม่ให้มี หมา หรือ แมวภายในบ้านหรือบริเวณบ้านเพราะจะเป็นสาเหตุให้สะดุดล้มได้ง่าย
- ทำบ้านให้แห้ง ไม่มีส่วนลื่น
- ทำบ้านไม่ให้มีพรมเช็ดเท้า สิ่งกีดขวาง
- ห้องน้ำ ควรต้องแยกส่วนแห้ง ส่วนเปียก ส่วนเปียกต้องไม่ลื่น นั่งอาบได้ดีที่สุด มีราวจับเกาะเวลาลุกขึ้น
สรุป
ผู้สูงอายุทุกคนจะมีกระดูกบางลงหรือกระดูกพรุนตามวัย มากน้อยต่างกันก็เพียงเล็กน้อย เมื่อล้ม กระดูกก็มักจะหัก แม้ไม่ได้ล้มแรง มีอยู่สี่แห่งที่กระดูกมักจะบางมากๆ จนล้มทีไรจะหักทุกที คือที่กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกหัวไหล่
กระดูกหัก สร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานและเป็นเหตุให้พิการได้ แต่สำหรับกระดูกหักที่สะ โพก มักทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหว นั่ง ยืน เดิน นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนนานาประการและอาจเสียชีวิตในที่สุดได้ ผมขอฝากข้อคิดสำหรับลูกหลานไว้ที่นี้ว่า
- ทำบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ไม่ให้มีหมาหรือแมวภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน
- ทำบ้านให้แห้ง ไม่มีส่วนลื่น
- ทำบ้านไม่ให้มีพรมเช็ดเท้า หรือสิ่งกีดขวาง
- ห้องน้ำ แยกส่วนแห้ง ส่วนเปียก ส่วนเปียกต้องไม่ลื่น นั่งอาบได้ดีที่สุด มีราวจับเกาะเวลาลุกขึ้น
- ข้อนี้โปรดพิจารณาให้ดีว่า จะยอมอนุญาตให้แพทย์ผ่าตัดดีหรือไม่ เพราะการผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมีหลายโรค ทั้ง โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเบา หวาน โรคความดันโลหิตสูง ทำให้แพทย์ไม่กล้าผ่าตัด เมื่อไม่กล้าผ่าตัดเพราะญาติยอม รับความเสี่ยงไม่ได้ ผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก ก็จะเจ็บปวดทุกข์ทรมานมาก โปรดคุยปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ให้การรักษาให้ถี่ถ้วน และรีบตัดสินใจเสมอ
รูป 1. ภาพรังสีกระดูกสะโพกซ้ายหัก
รูป 2. ภาพรังสีกระดูกสะโพกซ้ายหัก รักษาด้วย การผ่าตัดดามกระดูก
รูป 3. ภาพรังสีแสดงให้เห็นกระดูกสะโพกขวาหัก และได้รับการผ่าตัดใส่หัวกระดูกสะโพกเทียม
เปิดโมเดลโรงพยาบาลแพร่ จัดระบบผ่าตัดเร็ว Fast track กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ช่วยลดอัตราโรคแทรกซ้อนได้ถึง 10 เท่า แพทย์ ระบุ 1 ใน 3ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัด จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี
นพ.ลักษณ์ ชุติธรรมานันท์
นพ.ลักษณ์ ชุติธรรมานันท์ หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลแพร่ จ.แพร่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้มีคนไข้ในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนไข้กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเทียบเคียงจากอดีตที่พบเพียงวันละ 1 ราย หรือวันเว้นวัน ปัจจุบันกลับพบไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ราย
นพ.ลักษณ์ กล่าวว่า คนไข้กระดูกสะโพกหักจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร็วที่สุด โดยประเทศอังกฤษซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนประเทศไทยได้ตั้งกลุ่มศึกษาเรื่องนี้โดยตรง และพบว่าหากไม่รีบรักษาคนไข้กระดูกสะโพกหัก จะส่งผลต่อภาระงบประมาณและความทุกข์ทรมานแก่คนไข้และญาติ ที่สำคัญคือคนไข้มีโอกาสพิการและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ ผลการวิจัยของประเทศอังกฤษพบว่า วิธีที่รักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่ดีที่สุดคือการผ่าตัด ที่สำคัญคือจะต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุดคือภายใน 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะหากผ่าตัดหลังจากช่วงเวลานั้นจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับคนไข้จำนวนมาก อาทิ ปอดบวม กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ ข้อติดข้อยึด เดินไม่ได้ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มีแผลกดทับ และนำไปสู่การเสียชีวิต
“มีงานวิจัยระบุว่าถ้าคนไข้ได้รับการผ่าตัดช้าจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเร็วถึง 10 เท่า และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 10% จะเสียชีวิตภายใน 1 เดือน และอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ภายในระยะเวลา 1 ปี” นพ.ลักษณ์ กล่าว
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการศึกษาต่อไปอีกว่าหากคนไข้เป็นผู้สูงอายุมากๆ และมีโรคแทรกซ้อนเยอะ ยิ่งต้องกระตุ้นให้ได้รับการผ่าตัดให้เร็วขึ้นอีก คือภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากกระดูกสะโพกหัก ซึ่งจะลดอัตราการเสียชีวิตได้มากขึ้นไปอีก ฉะนั้นแนวโน้มหลังจากนี้คือจะผ่าตัดเร็วขึ้น
นพ.ลักษณ์ กล่าวอีกว่า เมื่อประเทศอังกฤษศึกษาและออกแบบแนวทางการรักษามาแล้ว โรงพยาบาลแพร่จึงได้นำโมเดลเดียวกันนี้มาใช้ โดยได้จัดระบบ Fast track ให้กับผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักให้ได้รับการผ่าตัดอย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งจากการดำเนินโครงการมาระยะเวลาร่วม 10 ปี พบว่าสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนได้จำนวนมาก
“การรักษาของประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่ได้ตระหนักในเรื่องนี้ ส่วนใหญ่ใช้วิธีดึงขาถ่วงไว้ บางครั้งก็ไม่ผ่าตัด หรือแพทย์เองก็ไม่เชียร์คนไข้ให้ผ่าตัด ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทำให้บาดเจ็บเนื้อเยื่อน้อย ใช้เวลาผ่าไม่เกิน 30 นาที หรือบางรายเพียง 12-15 นาที เพราะเป็นการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อน และแพทย์กระดูกทุกรายมีความสามารถในด้านนี้” นพ.ลักษณ์ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ Fast track hip (กระดูกสะโพก) ของโรงพยาบาลแพร่ เริ่มจากการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลชุมชนที่กระจายตัวอยู่ใน จ.แพร่ เมื่อโรงพยาบาลชุมชนพบคนไข้และวินิจฉัยแล้วว่าคนไข้กระดูกสะโพกหัก แพทย์ก็จะอธิบายถึงความเสี่ยง แนวทางการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ข้อดีข้อเสียของการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด
หลังจากนั้นเมื่อคนไข้และญาติยินยอมผ่าตัด ทางโรงพยาบาลชุมชนก็จะเตรียมตัวคนไข้ให้พร้อมผ่าตัดตั้งแต่ต้นทาง เช่น ให้งดน้ำงดอาหาร จากนั้นก็จะส่งต่อคนไข้มายังห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแพร่ ซึ่งทางโรงพยาบาลแพร่ก็จะมีกระบวนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ มีเจ้าหน้าที่ไปทำการเจาะตรวจ เอ็กซเรย์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัด
ทั้งนี้ เมื่อเตรียมความพร้อมครบถ้วน ทางห้องฉุกเฉินก็จะส่งตัวคนไข้มาที่ตึกเพื่อรอการผ่าตัด ที่ตึกก็จะมีการเตรียมพร้อมห้องพักเพื่อป้องกันแผลกดทับ จากนั้นก็เข้าสู่ระบบการผ่าตัดให้เร็วที่สุด ซึ่งหากผลการประเมินยืนยันว่าคนไข้พร้อมผ่าตัด ก็จะได้รับการผ่าตัดภายในคืนเดียวกันนั้นเลย และเช้าวันรุ่งขึ้นแพทย์ก็จะไปจับคนไข้ลุก นั่ง ยืน เดิน และให้กลับบ้านได้ภายในเที่ยงวันของวันถัดมา
“หากปล่อยเอาไว้หลายวัน ผู้สูงอายุจะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและฟื้นตัวช้า ซึ่งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คนไข้ 80-90% จะได้รับการผ่าตัดภายในคืนที่ส่งตัวมา และตอนเช้าก็จะสามารถเดินได้ และกลับบ้านได้” นพ.ลักษณ์ กล่าว
หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ กล่าวอีกว่า การทำงานของโรงพยาบาลแพร่จะทำงานเป็นทีม คือใช้งานวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นตัวนำ ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายก็จะเข้าใจตรงกันว่ากระดูกสะโพกหักเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ ทั้งแพทย์ผู้ผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ รวมถึงอายุรแพทย์ที่ร่วมประเมินคนไข้ในรายที่มีความซับซ้อน จะรู้สึกร่วมและภูมิใจที่ได้รักษาคนไข้
“เมื่อผมผ่าตัดเสร็จแล้วก็จะรายงานทุกคนให้ทราบทั้งหมดว่าคนไข้เดินกลับบ้านได้แล้วนะ ทั้งคุณหมอดมยาและอายุรแพทย์ ก็จะรับรู้ทุกครั้ง เขาก็ดีใจว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้แล้ว" นพ.ลักษณ์ กล่าว
นพ.ลักษณ์ กล่าวอีกว่า ในประเทศไทยมีคนนำโมเดลนี้มาใช้น้อยมาก ที่ทำจริงจังก็มีเพียงโรงพยาบาลเอกชนที่มีจุดขายคือการให้บริการที่รวดเร็ว อย่างโรงพยาบาลกรุงเทพก็เพิ่งทำเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ส่วนตัวคิดว่าโรงพยาบาลของรัฐอื่นๆ ก็สามารถดำเนินการเช่นเดียวกันนี้ได้ เพียงแค่ตระหนักและเห็นความสำคัญ ส่วนตัวรู้สึกภูมิใจที่โรงพยาบาลแพร่เป็นโรงพยาบาลของรัฐที่รักษาคนไข้ฟรีตามสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง และได้ช่วยเหลือคนไข้มาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี
วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญปัญหาหนึ่งในผู้ป่วยสูงอายุ การผ่าตัดถือ เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่เหมาะสมและจำเป็นในผู้ป่วยเหล่านี้ การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย อุปกรณ์การแพทย์ ห้องผ่าตัด และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความเสี่ยงหรือ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นก ลุ่มผู้ป่วยที่ร่างกายมีความเสื่อมตามวัย มีโรคร่วม เมื่อเกิดการเจ็บป่วยทำให้มีแนวโน้มการฟื้น ตัวช้า การชะลอการผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักนานกว่า 48 ชั่วโมง จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิด ภาวะแทรกซ้อนหลายประการ เช่น การติดเชื้อ การฟื้นตัวช้า จำนวนวันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ไปจนถึงการเสียชีวิต บทความนี้ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการชะลอการผ่าตัดนานกว่า 48 ชั่วโมงในผู้ป่วยสูงอายุในกรณีศึกษา 4 ราย พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง และส่งเสริมการฟื้นตัวในเวลาที่เหมาะสมของ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก คำสำคัญ: การชะลอการผ่าตัด กระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยสูงอาย
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ผู้สูงอายุมักมีปัญหากระดูกเปราะบาง จากการ สะสมมวลกระดูกไว้น้อยในช่วงก่อนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น นอกจากนั้นแล้วยังเกิดจากการที่มวลกระดูกลดลง ตามธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น (รัชตะ รัชตะนาวิน, 2538) ดังนั้นเมื่อเกิดการหกล้ม หรือแรงกระแทก มักทำให้เกิดปัญหากระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกบริเวณ สะโพก จากรายงานขององค์กรกระดูกพรุนนานาชาติ (National Osteoporosis Foundation [NOF], 2008) เกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดกระดูกหักของประชากรใน ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีจำนวนมากกว่า 2 ล้าน คนในปี ค.ศ. 2005 และเป็นผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จำนวน 297,000 ราย โดยร้อยละ 24 เป็นผู้ที่มีอายุ มากกว่า 50 ปี โดยพบอัตราการเกิดกระดูกสะโพกหัก ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า และจาก รายงานของศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูก พรุนฮ่องกง (Jockey Club Centre for Osteoporosis Care and Control [JOCOC], 2002) ทำนายว่าใน ปี ค.ศ. 2050 จะมี ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจำนวน 3.2 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 51 เป็นชาวเอเชีย ซึ่งจะส่ง ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและเศรษฐกิจ ในภูมิภาค สำหรับข้อมูลในประเทศไทย จากรายงานการ ศึกษาผู้ที่เคยมีกระดูกสะโพกหักในจังหวัดขอนแก่น พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปี มี โรคประจำตัว มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเองในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีปัญหาในการเดิน (poor prefracture walking ability) และเมื่อมีกระดูกสะโพก หักเพศชายมีระยะเวลาที่รอดชีวิตสั้นกว่าเพศหญิง โดยพบว่าอัตราการตายของผู้ที่มีปัญหากระดูกสะโพก หักระหว่างที่รักษาในโรงพยาบาลพบร้อยละ 2.1 และ เพิ่มเป็นร้อยละ 9 ร้อยละ 12 และร้อยละ 17 ใน เดือนที่ 3, 6, และ 12 (Pongchaiyakul, Songpattanasilp, & Taechakraichana, 2008) นอกจากนั้นยังพบว่ามี อัตราการตายในผู้ป่วยกลุ่ม ดังกล่าวถึงร้อยละ 29 ใน 1 ปีแรก (Chariyalertsak, Suriyawongpisal, & Thakkinstain, 2001 as cited in Pongchaiyakul et al., 2008) ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานขององค์กร กระดูกพรุนนานาชาติที่พบว่าร้อยละ 85 ของผู้ป่วย กระดูกสะโพกหักไม่สามารถเดินได้ภายใน 6 เดือน (NOF, 2008) จะเห็นว่าปัญหากระดูกสะโพกหัก ในผู้สูงอายุเป็นปัญหาในระดับนานาชาติ ซึ่งส่งผลต่อ คุณภาพชีวิต และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา (Harty, McKenna, Moloney, D’Souza, & Masterson, 2007)
การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมี 2 วิธี คือ
1) การรักษาแบบอนุรักษ์ เป็นวิธีที่ไม่ต้องทำการ ผ่าตัด โดยทำการดึงถ่วงน้ำหนักขาข้างที่มีพยาธิสภาพ ให้อยู่นิ่ง (traction) ผู้ป่วยจะต้องนอนอยู่บนเตียง นานประมาณ 2-3 เดือน ผลตามมา คือ มักทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อน เกิดการติดของกระดูกผิดรูป โดย กระดูกต้นขาจะสั้นลงบิดหมุนออกและโก่งงอ (external rotation and varus deformity) นอกจากนั้นแล้วยัง พบปัญหา การเกิดแผลกดทับบริเวณก้น ปอดอักเสบ หลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจ เป็นสาเหตุส่งเสริมให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ และ
2) การรักษาโดยการผ่าตัด เป้าหมายสำคัญของการผ่าตัด คือ การจัดกระดูกให้เข้าที่ และทำการยึดตรึงกระดูก ด้วยวัสดุที่เหมาะสมในตำแหน่งที่ดี เพื่อให้เกิดความ มั่นคงสูงสุดในตำแหน่งรอยหักของกระดูก (บรรจง มไหสวริยะ, 2542; NHS [National Health Service] Foundation Trust, 2008) การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักทั้งวิธีอนุรักษ์ และวิธีการผ่าตัดล้วนมีเป้าหมายหลักของการรักษา คือ ให้ ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงเดิมก่อนการเกิดกระดูกหัก โดยวิธีรักษา ี่ดีที่สุดและนิยมทำกันในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด (บรรจง มไหสวริยะ, 2542; Lewis & Knortz, 1993; Zuckerman & Schon, 1990 as cited in Koval & Zuckerman, 2000) ขณะเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลเพื่อผ่าตัด ผู้ป่วยจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว โดยให้นอนพักบนเตียง และผู้ป่วยอาจได้รับการดึงถ่วง น้ำหนักขาข้างที่มีกระดูกสะโพกหักไว้เพื่อให้ขาข้างที่มี กระดูกสะโพกหักอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและลด อาการปวด การเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดโดยเฉพาะกระดูก สะโพกหักซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุดังกล่าวมาแล้ว ผู้ป่วย จะได้รับการประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัด ระดับความ รุนแรงของพยาธิสภาพ ความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อน ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยมากที่สุด การประเมินก่อน การผ่าตัดประกอบด้วย การทำงานของหัวใจ ปอด ความดุลของสารน้ำและเกลือแร่ นอกจากการเตรียม ผู้ป่วยแล้ว ต้องมีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ การแพทย์ เครื่องมือผ่าตัด และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพที่ เกี่ยวข้อง (นลินี โกวิทวาวงษ์, 2550; Lewis & Knortz, 1993; Pudner, 2005) บางครั้งต้องใช้เวลา ในการเตรียมความพร้อม ทำให้ต้องมีการชะลอการ ผ่าตัดผู้ป่วย
การผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักควรกระทำ ภายใน 24-48 ชั่วโมง และไม่ควรเกิน 4 วันหลังจาก ที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลด ปัญหาเนื้อกระดูกตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้ กระดูกติดเร็ว ลดปัญหาความไม่สุขสบาย การฟื้นตัว ของผู้ป่วยเร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการ ตายได้ (Charalambous et al., 2003; Guryel, Redfern, & Ricketts, 2004; Koval & Zuckerman, 2000; Perez, & Warwick, 1995 as cited in Guryel et al., 2004; Scottish Intercollegiate Guidelines Network [SIGN], 2002) ในทางตรงกัน ข้ามเมื่อมีเหตุการณ์ให้ต้องมีการชะลอการผ่าตัดใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะส่งผลให้เกิดการตายของกระดูกที่หัก เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง (osteonecrosis) ต้องนอน โรงพยาบาลนานขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อน มีการติดเชื้อ และเพิ่มอัตราการตาย (Koval & Zuckerman, 2000; Lewis & Knortz, 1993) จากการศึกษาของ โนเวค, จอต์กวิทซ์, อีต์เซียน และโพราต์ท (Novack, Jotkwitz, Etzion, & Porath, 2007) พบว่าผู้ป่วย กระดูกสะโพกหักร้อยละ 35.4 ที่ชะลอการผ่าตัดภายใน 2 วันจะมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลนานขึ้น โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 2 วัน จะมีวันนอน โรงพยาบาลเฉลี่ย 8 วัน ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 2-4 วัน จะมีวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 10 วัน และผู้ที่ชะลอ การผ่าตัดนานกว่า 4 วัน จะมีวันนอนโรงพยาบาล เฉลี่ย 16 วัน และนอกจากนั้น ยังพบอัตราการตายสูง ขึ้นใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่มีการชะลอการผ่าตัดโดยผู้ป่วยที่ ได้รับการผ่าตัดภายใน 2 วัน พบอัตราการตายใน โรงพยาบาลร้อยละ 2.9 อัตราการตายในหนึ่งเดือน แรกร้อยละ 4 และอัตราตายในหนึ่งปีแรกร้อยละ 17.4 เมื่อชะลอการผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมากกว่า 4 วัน อัตราการตายในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.6 ในหนึ่งเดือนแรกร้อยละ 6.1 และในหนึ่งปีแรก ร้อยละ 26.2 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ของ มอร์แรน, เวนน์, ไซคานด์ และเทย์เลอ (Moran, Wenn, Sikand, & Taylor, 2005) ที่พบว่าการชะลอ การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักเกิน 4 วัน จะ เพิ่มอัตราการตาย ใน 90 วันและในหนึ่งปีแรก นอก จากนั้นแล้วในการศึกษาของ เฮฟเลย์, เนลสัน และ พุสคาริส-เมย์ (Hefley, Nelson, & Puskarich-May, 1996) พบว่าผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการรักษา จำนวน 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 92 ที่มารับการรักษา ภายใน 48 ชั่วโมง ประสบปัญหาหลอดเลือดดำอุดตัน ส่วนปลาย (deep-vein thrombosis [DVT]) จำนวน7 ราย และในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับการรักษาช้ากว่า 48 ชั่วโมง เฉลี่ย 8 วัน (SD = 5) คิดเป็นร้อยละ 8 มี ปัญหาหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตันจำนวน 11 ราย ซึ่งปัญหาหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตันก็เป็นปัญหา หนึ่งที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ชะลอการผ่าตัดเนื่องจากการ มารับการรักษาช้า
จะเห็นว่าการชะลอการผ่าตัดเป็นปัญหาทาง คลินิกที่ส่งผลต่อผู้ป่วยและระบบบริการสุขภาพ การ ดูแลผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักจึงมีความจำเป็นที่ ต้องมีการประสานการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพ โดย เฉพาะพยาบาลที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลบุคคลใน ทุกระยะของการเจ็บป่วย การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด เป็นบทบาทที่สำคัญเช่นกัน ที่จะต้องมีการประเมินประสาน ความพร้อมของผู้ป่วย เครื่องมือ อุปกรณ์ และทีม สุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็ว ลดภาวะ แทรกซ้อนและอัตราการตายจากการชะลอการผ่าตัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่แก้ไขได้ อย่างไรก็ตามจาก ประสบการณ์ทำงานยังพบว่ามีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่มีการชะลอการผ่าตัด บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการชะลอการผ่าตัดใน ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักกรณีศึกษา และแนวทาง การจัดการกับสาเหตุ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใน ระยะเวลาที่เหมาะสมอันนำไปสู่การฟื้นตัวและลด ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักกรณีศึกษา
รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 69 ปี มารับการ รักษาวันจันทร์ อาการสำคัญ ปวดสะโพกข้างขวามาก 4 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน ล้มก้นกระแทกหลัง จากก้าวพลาดขณะขึ้นรถ มีอาการปวดสะโพกขวามาก และได้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เอกซเรย์ไม่พบว่ามีกระดูกหัก ได้รับการวินิจฉัยเป็น กล้ามเนื้ออักเสบ 4 วันก่อนมาโรงพยาบาล อาการปวด ไม่ดีขึ้นจึงมารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ รับการวินิจฉัยว่ามีกระดูกสะโพกขวาหัก (fracture neck right femur) ประวัติเจ็บป่วยในอดีต โรคเบาหวานและความ ดันโลหิตสูง รักษาประจำที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยการรับประทานยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ ระดับ ความดันโลหิต 130/80 ม.ม.ปรอท,โซเดียม (Na+) 136 mmol/L, โปแทสเซียม (K+ ) 4.26 mmol/L, อัลบูมิน (albumin) 35.2 g/l, ระดับน้ำตาลใน กระแสเลือด (glucose) 11.2 mmol/L, การตรวจ การทำงานของตับ (gamma-glutamyl transferase [GGT]) 165 u/l, จำนวนเม็ดเลือดขาวในโลหิต (WBC) 6.59x103 /mm3 , จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) 3.65x106 /mm3 , ความเข้มข้นของเลือด (hematocrit) 32.7%, ความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด (hemoglobin) 11 g/dl, ผลการตรวจปัสสาวะมี น้ำตาลในปัสสาวะที่ระดับ 1+ , จำนวนเม็ดเลือดขาวใน ปัสสาวะ (WBC) 2-3 เซลล์/ ลบ.มม. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การ ทำงานของตับไม่ดี ได้ยารับประทานเดิมคือ Lipitor (20) 1 เม็ดก่อนนอน, Atenolol (100) 1 เม็ดวันละ ครั้ง, Metformin (500) 1 เม็ดวันละครั้ง, Glipizide (5) 1 เม็ดเช้าและเย็น, Micardis (20) 1½ เม็ดวัน ละครั้ง, Plandil (10) 1 เม็ดวันละครั้ง และยาฉีด อินซูลิน (Insulatard 15 unit subcutaneous) เพิ่มเพื่อ ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติก่อนการ ผ่าตัด มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้รับการรักษา ด้วยยาฆ่าเชื้อ (Cefuroxime 750 mg ทุก 8 ชั่วโมง) ในระหว่างที่รอทำการผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย การดึงถ่วงกระดูกขาที่ข้างขวาด้วยน้ำหนัก 2 กิโลกรัม และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (hemiarthroplasty partial hip replacement) 12 วัน หลังจากได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยรายนี้มีจำนวนวันนอน โรงพยาบาลทั้งสิ้น 16 วัน ขณะจำหน่ายผู้ป่วยยังคงมี ข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเองต้องใช้คอกช่วยเดิน (walker) การทำกิจวัตรต้องมีญาติคอยช่วยเหลือดูแล บางส่วน
รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 88 ปี มารับการ รักษาวันอังคาร อาการสำคัญ ปวดสะโพกซ้ายมากขึ้น เดินไม่ ได้ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน ลื่นล้มก้นกระแทก 10 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดสะโพกข้างซ้าย ไม่มีศีรษะกระแทก 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการ ปวดสะโพกมากขึ้น เดินไม่ได้ ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยกระดูกสะโพกซ้ายหัก (fracture neck left femur) ประวัติเจ็บป่วยในอดีต โรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และสมองเสื่อม (dementia) 2 ปีก่อนมาโรง พยาบาล รักษาโดยการรับประทานยาแต่ไม่ได้รับการ รักษาต่อเนื่อง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ ระดับ ความดันโลหิต 110/60 ม.ม.ปรอท,โซเดียม (Na+ ) 135 mmol/L, โปแทสเซียม (K+ ) 3.78 mmol/L, อัลบูมิน (albumin) 36.3 g/l, คลีตินิน (creatinine) 91 umol/L, ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (glucose) 9.9 mmol/L, การตรวจการทำงานของตับ (gammaglutamyl transferase [GGT]) 72 u/l, จำนวนเม็ด เลือดขาวในโลหิต (WBC) 6.21x103 /mm3 , จำนวน เม็ดเลือดแดง (RBC) 3.68x106 /mm3 , ความเข้ม ข้นของเลือด (hematocrit) 34.4 %, ความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในกระแสเลือด (hemoglobin) 11.7 g/dl ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีระดับ น้ำตาลในเลือดสูง มีภาวะซีด แต่ระดับความดันโลหิต ปกติ และเนื่องจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ 10 วัน ก่อน มาโรงพยาบาลแพทย์จึงพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการ ผ่าตัดอย่างรวดเร็ว โดยมีการเตรียมเลือดไว้ให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงงดน้ำและอาหารเพื่อเตรียมตัวผ่าตัด 1 วัน ต่อมาหลังการรับไว้รักษา แต่ผู้ป่วยพูดจาสับสน พูด คนเดียว พูดวกวน ไม่มีสมาธิ ในเช้าวันผ่าตัด จึงได้รับ การส่งปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium or acute confusional state [ACS]) ทำให้ ต้องเลื่อนการผ่าตัด เตรียมผ่าตัดครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ 3 หลังเข้ารับการรักษา เนื่องจากการประเมินจาก จิตแพทย์ว่าผู้ป่วยควรได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) เพื่อพักฟื้นหลังการผ่าตัด แต่มีปัญหาเตียง ผู้ป่วยวิกฤติไม่เพียงพอ จึงต้องเลื่อนการผ่าตัด ผู้ป่วย ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (hemiarthroplasty partial hip replacement) หลังการเตรียมการผ่าตัด ครั้งที่ 3 วันที่ 16 หลังจากได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยรายนี้ มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 20 วัน ขณะจำหน่าย ผู้ป่วยยังคงมีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเองค่อนข้าง มาก ต้องใช้รถนั่ง (wheel chair) และต้องให้ญาติ ดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันเกือบทั้งหมด
รายที่ 3 ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 83 ปี มารับการ รักษาวันศุกร์ อาการสำคัญ รับย้ายจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ด้วยปัญหากระดูกสะโพกซ้ายหัก ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน ลื่นล้มก้นกระแทก ปวด สะโพกซ้ายมาก 2 วันก่อนมารับการรักษาครั้งนี้ เข้า รับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งทันทีหลังได้รับ อุบัติเหตุ ญาติไม่มั่นใจการรักษาจึงขอย้ายมารับการ รักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับการวินิจฉัยกระดูก สะโพกซ้ายหัก (close fracture neck left femur) ประวัติเจ็บป่วยในอดีต โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) รักษาโดยการรับประทาน ยา และเป็นนิ่วที่ไต มีปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ โซเดียม (Na+ ) 135 mmol/L, โปแทสเซียม (K+ ) 4.85 mmol/L, อัลบูมิน (albumin) 28.2 g/l, จำนวนเม็ดเลือดขาว ในโลหิต (WBC) 7.11x103 /mm3 , จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) 3.82x106 /mm3 , ความเข้มข้นของเลือด (hematocrit) 33.1%, ความอิ่มตัวของออกซิเจนใน กระแสเลือด (hemoglobin) 11.3 g/dl, คลื่นไฟฟ้า หัวใจ (EKG) show sinus arrhythmia การประเมินก่อนการผ่าตัดด้วย American Society of Anesthesiologists (ASA) score ผู้ป่วยมีความ เสี่ยงสูง (high risk surgery) เนื่องจากเป็นโรคหัวใจ และมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ จึงจองเตียงผู้ป่วย วิกฤติเพื่อ พักฟื้นหลังการผ่าตัด ในระหว่างที่รอทำการ ผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการดึงถ่วงกระดูกขา ข้างซ้ายด้วยน้ำหนัก 2 กิโลกรัม ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (bipolar hemiarthoplasty) วันที่ 7 หลังจากได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยรายนี้มีจำนวน วันนอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 11 วัน ขณะจำหน่ายผู้ป่วย ยังคงมีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเองต้องใช้คอก ช่วยเดิน (walker) การทำกิจวัตรต้องมีญาติคอยช่วย เหลือดูแลบางส่วน
รายที่ 4 ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 66 ปี เข้ารับการ รักษาวันศุกร์ อาการสำคัญ ปวดสะโพกและข้อมือขวามาก 6 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน ล้มเอามือค้ำยันและ ก้นกระแทก ปวดสะโพกและข้อมือขวามาก 6 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัยกระดูกสะโพกและ กระดูกข้อมือซ้ายหัก (close fracture intertrochanteric right and fracture right wrist) ประวัติเจ็บป่วยในอดีต โรคความดันโลหิตสูง และ โรคหัวใจ (heart disease) ใส่เครื่องกระตุ้นการ เต้นของหัวใจ (pace maker mode DDD) และมียาที่ รับประทานเป็นประจำคือ Plavix (75mg) และ Waffarin (5) วันละเม็ด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ โซเดียม (Na+ ) 141 mmol/L, โปแทสเซียม (K+ ) 3.93 mmol/L, อัลบูมิน (albumin) 33 g/l, จำนวนเม็ด เลือดขาวในโลหิต (WBC) 13.2x103 /mm3 , จำนวน เม็ดเลือดแดง (RBC) 2.92x106 /mm3 , ความเข้มข้น ของเลือด (hematocrit) 27%, ความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในกระแสเลือด (hemoglobin) 8.9 g/dl, ผลการตรวจการแข็งตัวของเลือด PT หรือ prothrombin time 37.2 sec, PTT หรือ partial thromboplastin time 50.7 sec, INR หรือ International Narmalized Ratio 3.15 การประเมินก่อนการผ่าตัดด้วย American Society of Anesthesiologists (ASA) score ผู้ป่วยมีความ เสี่ยงปานกลาง (intermediated risk surgery) ดังนั้น ในระหว่างรอการผ่าตัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ปรับการทำงานของเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ก่อนได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการดึง ถ่วงกระดูกขาข้างขวาด้วยน้ำหนัก 2 กิโลกรัม และได้ รับ Vitamin K ฉีด เพื่อควบคุมการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปิดกระดูกเข้าไปจัดกระดูกและ ยึดตรึงกระดูกด้วยเหล็ก (open reduction of fracture with internal fixation [ORIF]) วันที่ 5 หลังจากได้ รับอุบัติเหตุ หลังผ่าตัด ผู้ป่วยเข้ารับการนอนพักฟื้น ในหอผู้ป่วยวิกฤติ 1 วัน ผู้ป่วยรายนี้มีจำนวนวัน นอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 13 วัน ขณะจำหน่ายผู้ป่วยยัง คงมีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเองต้องใช้คอกช่วย เดิน (walker) การทำกิจวัตร ไม่สามารถปฏิบัติได้ ครบถ้วนร่วมกับแขนข้างขวาที่หักต้องใส่เฝือกไว้ จำเป็นต้องมีญาติคอยช่วยเหลือดูแล
จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวกับการชะลอการ ผ่าตัดในผู้ป่วยกรณีตัวอย่างแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยและปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วย
1. ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย
1.1 การมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่า 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลหลังจากที่ได้รับ บาดเจ็บนานกว่า 48 ชั่วโมง ดังกรณีผู้ป่วยรายที่ 2 ซึ่ง พบว่าผู้ป่วยมีประวัติหกล้มเมื่อ 10 วันก่อนมารับการ รักษา ความล่าช้ามีสาเหตุมาจากตัวผู้ป่วยมีโรคสมอง เสื่อมซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ไม่สามารถอธิบายเล่า เหตุการณ์การได้รับอุบัติเหตุของตนให้ญาติได้เข้าใจได้ ร่วมกับการขาดการเอาใจของญาติต่อความผิดปกติ ของผู้ป่วย จนกระทั่งอาการปวดมากขึ้นจึงได้นำผู้ป่วย มาส่งโรงพยาบาล อันนำมาสู่ปัญหาภาวะแทรกซ้อน ทำให้การฟื้นตัวช้า และการต้องนอนโรงพยาบาลนาน ขึ้น โดยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 20 วัน ซึ่งมี จำนวนวันนอน โรงพยาบาลหลังการผ่าตัด 14 วัน นอกจากนั้นแล้วหลังจากที่แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วย กลับบ้าน ผู้ป่วยยังมีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตนเอง อันเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ญาติผู้ที่ดูแล
1.2 โรคประจำตัว ในกรณีผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วย
มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ตรวจพบ
น้ำตาลในปัสสาวะ ผู้ป่วยรายที่ 2 มีโรคประจำตัว คือ
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และสมองเสื่อมสำหรับ
ผู้ป่วยรายที่ 3 มีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วใน
ไต ประเมินมีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด และผู้ป่วย
รายที่ 4 มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง โรค
หัวใจ ต้องใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ประเมิน
มีความเสี่ยงปานกลางในการผ่าตัด
จะเห็นว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาทุกรายล้วนมี
โรคประจำตัว ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ (ผู้ป่วยกรณีศึกษาทุกราย
เป็นผู้สูงอายุ) นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าผู้ป่วยมีโรค
สมองเสื่อม ซึ่งเมื่อบุคคลอายุมากขึ้นอัตราการทำงาน
ของระบบต่างๆ จะลดลง เซลล์จะไม่มีการแบ่งตัวได้อีก
โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ประสาทสมอง
ไขสันหลัง และเซลล์ของไต (บุญศรี นุเกตุ และคณะ,
2545) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงมีโรคร่วม การควบคุม
โรคให้อยู่ในภาวะปกติเป็นเหตุผลที่ต้องมีการทำให้
ชะลอการผ่าตัด ซึ่งในการศึกษาปัจจัยการชะลอการ
ผ่าตัดในผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักของ ชาลาแลมบัส
และคณะ (Charalambous et al., 2003) พบว่าผู้ป่วย
ร้อยละ 55.8 (n = 173) ต้องชะลอการผ่าตัดนาน
กว่า 24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคร่วม เช่น โรค
ทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และสอดคล้องกับการศึกษา
ของ มอร์แรน และคณะ (Moran et al., 2005) พบ
ว่าร้อยละ 61 ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมีอายุมาก
กว่า 80 ปี (n = 2,148) และสาเหตุของการชะลอ
การผ่าตัดในผู้ป่วยดังกล่าว คือ มีโรคประจำตัวและมี
ภาวะผิดปกติเช่นโรคหัวใจ (heart failure) มีภาวะซีด
(anemia) และการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ นอกจากนี้
จากการศึกษาของ บอทเตอร์ และอายลิน (Bottle &
Aylin, 2006) ที่เก็บข้อมูลในช่วงปี ค.ศ. 2001-2004
ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ชะลอการผ่าตัดมากกว่า 2 วัน
พบว่าร้อยละ 18.9 มีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน
โลหิตสูง ร้อยละ 12.9 เป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)
ร้อยละ 12.1 เป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 4.8 มีโรคประจำ
ตัวมากกว่า 3 ชนิด และยังพบว่าโรคประจำตัวของ
ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาซ้ำ และ
อัตราการตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ดังนั้นการ
ชะลอการผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยกรณีศึกษา ปัจจัยเรื่องโรค
ประจำตัวจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลาใน
การควบคุมโรค และดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สาขา
1.3 ยา ซึ่งผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวส่วนใหญ่จะ
มียารับประทานเป็นประจำ เช่นในกรณีตัวอย่างผู้ป่วย
รายที่ 4 ที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เพื่อ
รักษาโรคหัวใจ ซึ่งผลของยาละลายลิ่มเลือดจะทำให้
เลือดมีการไหลเวียนดี ไม่เกิดลิ่มเลือดเกาะ หรืออุด
ตันที่หลอดเลือด แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีการฉีก
ขาดของหลอดเลือดก็จะทำให้เลือดออกและหยุดยาก
ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียเลือดมากในช่วงเวลาที่ผู้ป่วย
ได้รับการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่ยาละลายลิ่มเลือด (antiplatelet)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anti-coagulants
or thrombolytic agent) จะอยู่ในกระแสเลือด (lifespan)
7-10 วัน (Harty et al., 2007) อย่างไรก็ตามผู้ป่วย
ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการ
ผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมงหลังรับการวินิจฉัยพบว่ามี
อัตราการตายภายใน 3 เดือน ถึง 1 ปี ร้อยละ 5.8
แต่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 9.9 เมื่อชะลอการผ่าตัด
ในช่วง 3-7 วัน (Weller, Wai, Jaglal, & Kreder,
2005) และอัตราการตายจะสูงขึ้นโดยเฉพาะในผู้ที่มี
อายุมากกว่า 80 ปี (Harty et al., 2007)
1.4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
พบว่าผู้ป่วยทุกรายที่มารับการรักษาด้วยปัญหากระดูกสะโพกหักนั้น มีภาวะซีด (anemia) ความเข้มข้นของ
เลือด (hematocrit) ความอิ่มตัวของออกซิเจนใน
กระแสเลือด (hemoglobin) ต่ำ ภาวะซีดเป็นภาวะที่
อาจจะเกิดจากโรคประจำตัวผู้ป่วยหรือเกิดจากภาวะ
สูญเสียเลือดจำนวนมากบริเวณที่หักของกระดูก ภาวะ
ซีดทำให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ไม่เพียงพอ
ทำให้หัวใจและปอดต้องทำงานหนัก ระดับของความ
อิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด (hemoglobin) ที่
9 ถึง 10 g/dl จะทำให้คงไว้ซึ่งการทำงานที่ปกติของ
ปอดและหัวใจ (Koval & Zuckerman, 2000) ระดับ
ความเข้มข้นของเลือด (hematocrit) ควรมากกว่าร้อยละ
25 ในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพแข็งแรงดี และ
มากกว่าร้อยละ 30 ในผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ โรคปอด
และสำหรับผู้ที่มีปัญหาซีดเรื้อรังควรมีค่ามากกว่าร้อย
ละ 18 (นลินี โกวิทวาวงษ์, 2550) ดังนั้นมีความ
จำเป็นที่ต้องมีการประเมินภาวะซีดก่อนการผ่าตัด
เพราะระหว่างที่ผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดมากขึ้น
ยังส่งเสริมให้เซลล์ร่างกายได้รับอาหารและออกซิเจน
ไม่เพียงพอ
นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยรายที่ 3 และรายที่ 4
ยังมีปัญหาทุพโภชนาคือมีระดับอัลบูมิน (albumin)
ต่ำ (28.2 g/l, 33 g/l ตามลำดับ) ซึ่งภาวะทุพโภชนา
มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ในช่วงก่อน ระหว่าง
และหลังการผ่าตัด (perioperative) ทั้งในเรื่องระบบ
ภูมิคุ้มกันของโรค การหายของแผล และเกิดภาวะ
แทรกซ้อนหลังผ่าตัดกับผู้ป่วย เช่น การติดเชื้อของ
แผลหลังการผ่าตัดเป็นต้น (Clorish, 2001 อ้างใน
ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2546; Harty et al., 2007)
1.5 เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอการผ่าตัด
เช่น ผู้ป่วยรายที่ 1 มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบ
จำนวนเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ (WBC) 2-3 เซลล์/
ลบ.มม. สำหรับผู้ป่วยรายที่ 2 มีอาการสับสนเฉียบพลัน
และรายที่ 4 มีการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวนเม็ด
เลือดขาวในโลหิต (WBC) 13.2x103
/mm3
จากการ
วิเคราะห์กรณีศึกษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก (อมรตา อาชา
พิทักษ์ และสุภาพ อารีเอื้อ, 2550) พบสาเหตุที่ทำให้
เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งสอดคล้อง
กับผู้ป่วยรายที่ 1 คือผู้ป่วยเป็นผู้หญิงสูงอายุ มีประวัติ
เป็นโรคเบาหวาน ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวโดยมีการดึง
ถ่วงกระดูกที่ขาข้างขวา ดังนั้นเมื่อเกิดการติดเชื้อจำเป็น
ต้องได้รับยาฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมรักษาโรค ทำให้ต้อง
ชะลอการผ่าตัด
2. ปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วย
2.1 การวินิจฉัยผิดพลาดหรือการได้รับการ
วินิจฉัยโรคช้า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับ
การผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกรณีผู้ป่วยรายที่ 1
แม้ว่าผู้ป่วยจะตระหนักและใส่ใจในความเจ็บป่วยของตน
แต่การวินิจฉัยที่ผิดพลาดหรือช้าทำให้ผู้ป่วยต้องชะลอ
การผ่าตัด เช่น การศึกษาของ มอร์แรน และคณะ
(Moran et al., 2005) ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
จำนวน 2,903 ราย ซึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาล
มหาวิทยาลัย Nottingham ประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้
ป่วยจำนวน 123 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยช้า โดยหลัง
จากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บแพทย์รับผู้ป่วยไว้นอนโรงโรง
พยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ซึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัย
ว่ามีกระดูกสะโพกหัก เมื่อได้รับการตรวจเอกซเรย์ MRI
(magnetic resonance imaging) หรือ Bone scan จึง
ได้เตรียมผู้ป่วยผ่าตัดด้วยปัญหากระดูกสะโพกหัก
2.2 ปัญหาจากระบบบริการ ซึ่งแยกได้เป็น 3
สาเหตุย่อยๆ ได้แก่
2.2.1 ช่วงวันหยุดราชการ ในกรณีผู้ป่วย
ที่มารับการรักษาในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันทำการวันสุดท้าย
ของสัปดาห์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการ
ชะลอการผ่าตัดดังผู้ป่วยรายที่ 3 และ 4 จากการ
ศึกษาของ ชาลาแลมบัส และคณะ (Charalambous et al., 2003) เกี่ยวกับปัจจัยที่ต้องชะลอการผ่าตัดในผู้
สูงอายุ พบว่าร้อยละ 19.7 (n = 173) ผู้ป่วยต้องรอ
แพทย์เพื่อประเมินความพร้อมทางร่างกายก่อนการ
ผ่าตัด ร้อยละ 18 เกิดจากความไม่พร้อม หรือมีห้อง
ผ่าตัดไม่พอ และร้อยละ 5.8 ได้รับบาดเจ็บและมารับ
การรักษาในวันอาทิตย์ ทำให้ไม่ได้รับการประเมิน และ
การเตรียมผ่าตัด เพราะเป็นวันหยุดของแพทย์ผู้ผ่าตัด
2.2.2 ความไม่เพียงพอของห้องพักและ
อุปกรณ์ ในกรณีผู้ป่วยรายที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความ
ไม่พร้อมของห้องพักทำให้ผู้ป่วยต้องชะลอการผ่าตัด
จากการศึกษาของ ยุพันธ์ จันทร และสิระยา สัมมาวาจ
(2543) พบว่าร้อยละ 3.22 (n = 93) ผู้ป่วยต้องรอ
ผลการวินิจฉัย ร้อยละ 1.08 พบว่า ไม่มีเครื่องมือ
ร้อยละ 1.08 ไม่มีเลือดสำหรับการผ่าตัด อันส่งผล
กระทบต่อ ผู้ป่วย คือ ผู้ป่วยกลัวที่จะต้องถูกเลื่อนการ
ผ่าตัด ผู้ป่วยมีความกังวลและผิดหวัง ซึ่งอาจทำให้
ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในการรักษาได้ และสอดคล้อง
กับการศึกษาของ วอนเมบอม, กิลสัน, ธาร์ป และ
เดวิส (Von Meibom, Gilson, Dhapre, & Davis,
2007) เกี่ยวกับปัจจัยการชะลอการผ่าตัดในผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหักโดยเก็บข้อมูลจากสถานพยาบาล 2
แห่ง ในประเทศอังกฤษ สถานพยาบาลที่ 1 พบว่าร้อย
ละ 78 ของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดใน 24 ชั่วโมง
(n = 23) เกิดจากความไม่พร้อมของห้องผ่าตัด และ
ในสถานพยาบาลที่ 2 พบว่าร้อยละ 76 ของผู้ป่วยที่
ไม่ได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง (n = 71) มี
สาเหตุมาจากขาดความพร้อมเรื่องการจัดการ ทั้งการ
เตรียมความพร้อมในผู้ป่วย และการขาดอุปกรณ์
2.2.3 การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม
ผู้ป่วยทั้ง 4 รายต้องชะลอการผ่าตัด สาเหตุอีกประการ
หนึ่งเกิดจากการบริหารจัดการยังไม่เหมาะสม ผู้ป่วย
รายที่ 1 มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยรายที่ 2
ไม่ได้ประเมินหรือถามประวัติเดิมของผู้ป่วยให้ชัดเจน
และยังขาดความพร้อมเรื่องห้องพักทำให้ต้องเลื่อน
การผ่าตัด 2 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยรายที่ 3 ไม่มั่นใจใน
โรงพยาบาลแต่เข้ารับการรักษาในครั้งแรกต้องรอย้าย
มาโรงพยาบาลแห่งใหม่ (โรงพยาบาลรามาธิบดี) 2 วัน
และผู้ป่วยรายที่ 4 มีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ
ในกระแสเลือด จากการศึกษาของ ยุพันธ์ จันทร และ
สิระยา สัมมาวาจ (2543) เกี่ยวกับสาเหตุของการงด
ผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดโรงพยาบาลรามาธิบดี
จำนวน 791 ราย พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ถูกงดการ
ผ่าตัดเกิดจากการบริหารจัดการคิดเป็น ร้อยละ 76.34
ได้แก่ การเปลี่ยนแผนการรักษาจากการผ่าตัดเป็นวิธี
อื่น เตรียมผู้ป่วยไว้จำนวนมากแต่ทำการผ่าตัดไม่ทัน
หรือมีการเตรียมผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยร่างกายไม่
พร้อม เช่นผู้ป่วยยังไม่ได้งดยา aspirin แผลติดเชื้อ
มาก มีปัญหาระบบทางเดินหายใจไม่สามารถดมยาสลบ
ได้ ร้อยละ 6.45 รอผ่าตัดพร้อมกับแพทย์เฉพาะทาง
สาขาอื่น ร้อยละ 11.8 อาจารย์แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
ติดภารกิจ และร้อยละ 7.35 ไม่ได้ระบุในบัญชีรายชื่อ
ของการรับการผ่าตัด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ
โอรอส และคณะ (Orosz et al., 2002) ในผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหัก 571 ราย พบว่าร้อยละ 52 ของการ
ชะลอการผ่าตัดเกิดจากการรอผลตรวจ (routine medical
clearance) นอกจากนั้นร้อยละ 29 เกิดจากความไม่
เพียงพอของห้องผ่าตัดและแพทย์
ผลกระทบต่อผู้ป่วยกรณีศึกษาจากการชะลอ
การผ่าตัด
1. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการชะลอการ
ผ่าตัด ดังกรณีศึกษาผู้ป่วยรายที่ 1 เกิดการติดเชื้อ
ระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งการศึกษาของ จอนสโตน,
มอร์แกน, วิลคินสัน, และชีสแซล (Johnstone, Morgan,
Wilkinson, & Chissell, 1995) พบว่าผู้ป่วยกระดูก
สะโพกหักร้อยละ 25 (n=88) มีการติดเชื้อทางเดิน
ปัสสาวะ ซึ่งการชะลอการผ่าตัดนานกว่า 48 ชั่วโมงเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
สำหรับในผู้ป่วยรายที่ 2 ยังพบว่าผู้ป่วยมีภาวะสับสน
เฉียบพลัน (delirium or acute confusional state
[ACS]) พูดจาวกวน สมาธิสั้น ซึ่งจากรายงานของ วินเนย์
(Whinney, 2005) พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการ
ชะลอการผ่าตัดคือ เกิดการตายของข้อสะโพกที่หัก มี
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ ปอดบวม และ
มีภาวะสับสนเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีผลต่อการฟื้นตัว
และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดนานขึ้น
และผู้ป่วยรายที่ 4 ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในเลือดมาก
กว่าค่าปกติ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ เวอบีค,
พอนเสน, กอสลิงส์ และฮีทวิลด์ (Verbeek, Ponsen,
Goslings, & Heetveld, 2008) ที่พบว่าการชะลอการ
ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมีความสัมพันธ์กับ
การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อหลังการผ่าตัด
เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม (pneumonia)
การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
2. สำหรับผลกระทบต่อผู้ป่วยที่เกิดจากการ
เลื่อนการผ่าตัดดังผู้ป่วยรายที่ 2 ต้องมีการงดน้ำและ
อาหารเพื่อเตรียมการผ่าตัดในครั้งใหม่ ซึ่งการงดน้ำ
และอาหารหลายครั้งจะมีผลต่อภาวะโภชนาการ
(Harty et al., 2007) ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการ
เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น การติดเชื้อ การหาย
ของแผลช้า (Charalambous et al., 2003)
3. ผู้ป่วยกรณีศึกษามีจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
และจำนวนวันนอนหลังการผ่าตัดนาน โดยผู้ป่วยราย
ที่ 1 จำนวนวันนอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 16 วัน จำนวน
วันนอนหลังการผ่าตัด 8 วัน สำหรับผู้ป่วยรายที่ 2
จำนวนวันนอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 20 วัน จำนวนวัน
นอนหลังการผ่าตัด 14 วัน และรายที่ 4 จำนวนวัน
นอนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 13 วัน จำนวนวันนอนหลัง
การผ่าตัด 8 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับแนวทางการดูแล ผู้ป่วย
ที่ผ่าตัดข้อสะโพกของสถาบัน South Devon Health
Care NHS Trust (2006) พบว่าผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล
เพียง 4-5 วัน นอกจากนี้ จากการศึกษาของ เพ็ญศรี
เลาสวัสดิ์ชัยกุล, ทิพวรรณ ไตรติลานันท์, และวันทนา
วีระถาวร (2549) ที่นำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้
ในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกจำนวน 19 ราย
แม้ผู้ป่วยดังกล่าวจะมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง แต่พบว่าผู้ป่วยมีจำนวนวันนอน
โรงพยาบาลนานเฉลี่ย 12.9 วัน จำนวนวันนอนเฉลี่ย
หลังการผ่าตัด 7.7 วัน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนวันนอนใน
โรงพยาบาลของผู้ป่วยกรณีศึกษาในครั้งนี
4. การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยมีข้อ
จำกัดในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันขณะ
จำหน่ายกลับบ้านในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยบางรายต้อง
พึ่งพาญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเกือบทุก
กิจกรรม จากการศึกษาของ วิลล่า, แอลลิน และบา
เนส (Villar, Allen, & Barnes, 1986) พบว่าผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 29 ชั่วโมง
มีการฟื้นตัวดีขึ้น (good rehabilitation) ใน 3 เดือน
แรก แต่ผู้ที่ชะลอการผ่าตัดมากกว่า 57 ชั่วโมง มีการ
ฟื้นตัวช้า (poor rehabilitation) ซึ่งผู้ป่วยกรณีศึกษา
ทุกรายชะลอการผ่าตัดมากกว่า 57 ชั่วโมง
แนวทางในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอการ
ผ่าตัดและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหักที่รอการผ่าตัด
จากการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการชะลอ
การผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก บทบาท
สำคัญของพยาบาลในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอ
การผ่าตัดและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหักประกอบด้วย การจัดการกับปัจจัยที่
เกี่ยวข้อง คือ ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยและปัจจัยภายนอก
ตัวผู้ป่วย
ปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย
จะเห็นได้ว่าปัจจัยด้านสุขภาพของผู้ป่วย
ประกอบด้วยโรคประจำตัว ยาที่ใช้เป็นประจำ และผล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการ
ชะลอการผ่าตัด ซึ่งการกำจัดปัญหาเดิมของผู้ป่วยนั้น
ไม่สามารถทำได้ในทันทีทันใด แต่สามารถควบคุมปัจจัย
ดังกล่าวไม่ให้มีผลกระทบต่อการผ่าตัดได้ โดยการ
ประเมินผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน ด้วยแพทย์เฉพาะทาง ทั้ง
อายุรแพทย์, แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ (cardiologist),
ทีมวิสัญญี (anesthesia team), กายภาพบำบัดด้าน
ทรวงอก (chest physiotherapist) (Charalambous et al.,
2003) การจัดการที่สำคัญเกี่ยวกับปัจจัยภายในตัว
ผู้ป่วยได้แก่
1. การประเมินก่อนการผ่าตัด การประเมินก่อน
การผ่าตัดมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ (นลินี โกวิทวนาวงษ์,
2550; ประเสริฐ อัสสันตชัย, 2546; Pudner, 2005)
1.1 การศึกษาประวัติผู้ป่วย ประวัติโรค
ประจำตัว ประวัติการได้รับยา ข้อควรพิจารณาในการ
งดยาก่อนการผ่าตัด เช่น ความรุนแรงของโรคเดิมที่
ผู้ป่วยเป็นอยู่ ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยา ประวัติ
การแพ้ยา แพ้อาหาร ภูมิแพ้ อาการและอาการแสดง
ของการแพ้สาร ประวัติการได้รับยาระงับความรู้สึก
ประวัติครอบครัว รวมไปถึงประวัติอื่นๆ เช่น การสูบ
บุหรี่ ประวัติการได้รับเลือด
1.2 การประเมินปัจจัยที่จำเพาะในผู้ป่วย
สูงอายุแต่ละราย มีการประเมินพยาธิสภาพหรือโรค
เรื้อรังของผู้ป่วยเช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน มีการ
ควบคุมระดับเกลือแร่ และน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ
พร้อมที่จะได้รับการผ่าตัด การประเมินความสามารถ
เดิมของ ผู้ป่วย การจัดการและป้องกันภาวะสับสน
เฉียบพลัน รวมไปถึงการประเมินภาวะโภชนาการ
1.3 การประเมินอวัยวะในระบบต่างๆ โดย
การตรวจร่างกายทั้งระบบการไหลเวียนโลหิต การทำงาน
ของหัวใจ ระดับความเสี่ยงในการผ่าตัด การประเมิน
ระบบทางเดินหายใจ การทำงานของปอดที่ดี เพื่อ
ความพร้อมที่จะเลือกวิธีการระงับความรู้สึก การทำงาน
ของไต การขับถ่ายของเสีย การดูดกลับของเกลือแร่
รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันและโรคติดเชื้อ ซึ่งมีควรมี
การเฝ้าระวังตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อไม่เกิดปัญหาติดเชื้อ
หรือภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
1.4 การตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งส่วนใหญ่
จะมากน้อยขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยว่ามีโรคประจำตัวใดบ้าง
โดยต้องมีการคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ
โดยการตรวจทั่วไปที่ผู้ป่วยควรทำคือ การตรวจปัสสาวะ
การตรวจเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (complete blood
count) การตรวจทางชีวเคมีของเลือดเพื่อดูการทำงาน
ของไต ตับ และระบบต่อมไร้ท่อ การถ่ายภาพรังสี
ทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
2. กรณีผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
จากการศึกษาของ ฮาร์ตีและคณะ (Harty et al.,
2007) ในผู้ป่วยกลุ่มที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด
หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด การชะลอการผ่าตัด
จะเพิ่มภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายในผู้ป่วย
กลุ่มนี้ได้ถึงร้อยละ 22 ฉะนั้นควรมีการงดยา และ
เตรียมผู้ป่วยในการผ่าตัดโดยเร็ว ผู้ป่วยควรได้รับการ
ตรวจประเมินผลเลือด โดยเฉพาะระยะเวลาการแข็ง
ตัวของเลือดก่อนการผ่าตัด และควรมีการเตรียมเลือด
สำหรับผู้ป่วย ซึ่งอาจมีการดูแลให้เกร็ดเลือดในผู้ป่วย
กลุ่มนี้ก่อนการผ่าตัด และการผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้
ควรอยู่ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ ผู้มีความชำนาญ
และนอกจากนี้อาจมีการ เตรียม Vitamin K ให้ใน
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อควบคุมให้สัดส่วนเวลาการแข็งตัว
ของเลือด (International Normalized Ratio [INR])
อยู่ในระดับ 2-3 (Charalambous et al., 2003) ดัง
เช่นกรณีผู้ป่วยรายที่ 4 ที่ได้รับ Vitamin K ฉีด ก่อน
การผ่าตัด
3. สำหรับการมารับการรักษาช้าหลังจากที่
ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ พยาบาลมีบทบาทในการให้คำ
อธิบาย แนะนำ ผู้ป่วย ญาติ หรือคนใกล้ชิด หากมี
ปัญหาการหกล้ม หรือการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ เพื่อ
ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการชะลอการผ่าตัด
4. ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ มีการส่ง
ต่อการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังดูแล
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
5. การประสานความพร้อมกับทีมสุขภาพเพื่อ
ให้ผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็ว
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการ เตรียม
ร่างกายผู้ป่วยให้พร้อมที่จะทำการผ่าตัด ตั้งแต่รับผู้ป่วย
ไว้ในการรักษา โดยประสานงานและประเมินผู้ป่วยก่อน
การผ่าตัดอย่างละเอียด และรายงานให้แพทย์ทราบ
ร่วมกับในทีมสุขภาพในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วย รวมถึง
การแนะนำและการตรวจ การลงชื่อยินยอมในการรับ
การรักษา และการให้คำแนะนำในการงดอาหารและ
น้ำก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วย
ปัจจัยภายนอกตัวผู้ป่วย
บุคลากรและทีมสุขภาพ เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่
สำคัญในการจัดการกับปัญหาของผู้ป่วย โดยปัญหา
ด้านสุขภาพของผู้ป่วยจำเป็นต้องมีทีมแพทย์ที่ชำนาญ
มีความพร้อม ในการประเมินและการผ่าตัดผู้ป่วย ซึ่ง
ประสิทธิภาพของทีมสุขภาพนั้น คือ สามารถจัดการ
กับปัญหาควบคุมปัจจัยจากตัวผู้ป่วย ให้มีความเหมาะ
สมต่อการผ่าตัด จึงควรมีการพัฒนาบทบาทพยาบาล
และระบบบริการให้เหมาะสม
1. พัฒนาบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการ
พยาบาลขั้นสูง (Advanced Practice Nurses [APNs])
ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกสะโพกหัก ซึ่งเป็น
กลุ่มผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการดูแล และต้องการ
พยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการ
พยาบาล ประเมิน วิเคราะห์ปัญหาการพยาบาลที่ซับ
ซ้อนในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ประสานงานในทีมสุขภาพ
และให้ความรู้แก่บุคลากรในการดูแลผู้ป่วยกระดูก
สะโพกหักที่มีปัญหาซับซ้อน รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
และญาติ ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
2. หน่วยงานควรมีการพัฒนาระบบบริการ
การดูแล โดยมีการนำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกระดูก
สะโพกหักมาใช้ (Clinical Practice Guideline [CPG])
และติดตามผลการใช้เป็นระยะๆ เช่น แนวทางการ
ดูแล ผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อสะโพกของสถาบัน South Devon
Health Care NHS Trust (2006) การใช้หลักฐานเชิง
ประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเรื่อง
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมของ
เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล และคณะ (2549) ซึ่งสามารถ
ลดภาวะแทรกซ้อน และลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
นอกจากนั้น จากการศึกษาในต่างประเทศได้ให้
ข้อแนะนำถึงการจัดระบบกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องรับการ
ผ่าตัด โดยผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ (trauma) ควรเป็น
กลุ่มผู้ป่วยที่แพทย์สามารถมาตรวจผู้ป่วยในช่วงวัน
หยุดได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ต้องชะลอการผ่าตัด
(Charalambous et al., 2003) และใน European
Working Time Directive (EWTD) แนะนำว่าควรให้
แพทย์ผ่าตัด (surgeons) ได้มีวันหยุดพักผ่อนหลัง
จากทำการผ่าตัด เมื่อมีการปฏิบัติงานนอกเวลา (on call)
ซึ่งจะช่วยให้ ผู้ป่วยไม่ถูกเลื่อนมาผ่าตัดในวันราชการ
เท่านั้น เช่นเดียวกับข้อเสนอแนะของ National Confidential
Enquiry into Perioperative Deaths (NCEPOD)
แนะนำว่าควรมีการทำงานเป็นช่วงเวลา (shift working
patterns) ซึ่ง staff ไม่ควรทำงานนานเกินไป แต่
สามารถทำงานนอกเวลาได้ (Von Meibom et al., 2007)
สรุป
การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ดีที่สุดคือ การทำการผ่าตัด จากปรากฏการณ์พบว่าผู้ป่วยส่วน ใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จึงมีความ จำเป็นที่ต้องมีการประเมินระบบต่างๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยก่อนที่จะได้รับการผ่าตัด อันทำให้เกิดปัญหาการ ชะลอการผ่าตัด การชะลอการผ่าตัดทำให้เกิดปัญหา ทางสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มอัตราการตาย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการทำงานร่วมกัน ระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อประเมินและจัดการ กับปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอการผ่าตัดทั้งปัจจัยภายใน ตัวผู้ป่วย เช่น ปัญหาด้านสุขภาพของผู้ป่วย และ ปัญหาภายนอกตัวผู้ป่วย เช่น ความไม่พร้อมของทีม สุขภาพ ซึ่งพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทั้งในการดูแล ผู้ป่วยให้เป็นไปตามแผนการรักษา เตรียมพร้อมร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด การติดต่อประสาน งานในทีมสุขภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปัญหาการชะลอ การผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ ลดวันนอนโรงพยาบาล รวมไปถึงการลดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัด อันก่อ ให้เกิดประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ดีทางการพยาบาล
สมัครสมาชิก:
บทความ
(Atom)
รายการบล็อกของฉัน
เมนูเว็บไซต์
- หน้าแรก
- แทมโป้
- ดับเบิ้ลแม็ก
- ซุปเปอร์ดีแม็ก
- เทอร์โบแม็ก
- บีแอล99
- ดับเบิ้ลแม็กพรีเมี่ยม
- กาแฟวันแฟน
- ไบโอวัน
- อาหารเสริมชาย
- เรซฮอร์ซ
- กาแฟวันแมน
- แม็กม่า-ทูอัพ
- ซุปเปอร์ดีแม็กพลัส
- ยาบีแอล
- ซุปเปอร์แม็ก
- เทอร์ดบแม็กแม็กม่า
- ซูปเปอร์ดีแม็กซ์
- ดับเบิ้ลแม็กซ์
- ดับเบิ้ลแม็กพลัส
- ทวนทอง99
- สาหร่ายแดง
- ไบโอแอสติน
- แอสต้าเอ็กซ์
- ชาเจสันวินเตอร์
- เรซฮอร์ส
Blogroll
Archives
Block
Enter Block content here...
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam pharetra, tellus sit amet congue vulputate, nisi erat iaculis nibh, vitae feugiat sapien ante eget mauris.
New Block
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ค้นหาสิ่งต่างๆในเว็บนี้
แทมโป้ Tampo อาหารเสริมสำหรับชายไทยทั่วประเทศ. ขับเคลื่อนโดย Blogger.
บทความที่ได้รับความนิยม
-
กระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญปัญหาหนึ่งในผู้ป่วยสูงอายุ การผ่าตัดถือ เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่เหมาะสมและจำเป็นในผู้ป่วยเหล่านี้ การเ...
-
เปิดโมเดลโรงพยาบาลแพร่ จัดระบบผ่าตัดเร็ว Fast track กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ช่วยลดอัตราโรคแทรกซ้อนได้ถึง 10 เท่า แพทย์ ระบุ 1 ใน 3ของผู้...
เกี่ยวกับฉัน
โพสต์แนะนำ
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ (Hip Fractures in Senile)
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ (Hip fracture in senile) หมายถึงการหักของกระดูกต้นขา (Femur) ที่อยู่บริเวณสะโพกและโคนขาหนีบ (รูป 1) เนื่องจากกา...